ไดโนเสาร์ “นักล่าแห่งสยาม” หรือ สยามแรปเตอร์ (Siamraptor suwati) ผงาดที่สามแยกเยื้องสนง.เทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อ. เมืองนครราชสีมา
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ เปิดเผยว่า “สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ” หรือ Siamraptor suwati ค้นพบจากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารีอำเภอเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ตั้งชื่อสกุลตามชื่อเดิมของประเทศไทย (สยาม) อันหมายรวมถึง “นักล่าแห่งสยาม” และตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานอนุรักษ์และวิจัยฟอสซิลของสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มาถึง 25 ปี ซึ่งสยามแรปเตอร์ มาจากการศึกษา ค้นคว้าจากฟอสซิลรวมทั้งสิ้น 22 ชิ้น ประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนกะโหลก กระดูกขากรรไกรบน-ล่าง กระดูกคอ กระดูกหลัง กระดูกหาง กระดูกสะโพก กระดูกขาหลัง กรงเล็บ กระดูกนิ้วเท้า โดยคาดว่า ฟอสซิลดังกล่าวมาจากสยามแรปเตอร์ไม่ต่ำกว่า 4 ตัว
“สยามแรปเตอร์” จัดเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่และชนิดใหม่ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่มีการศึกษามา โดยมีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 8 เมตร ทั้งนี้คำนวณจากชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรล่างที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จัดอยู่ในสายวิวัฒนาการของพวกอัลโลซอรอยเดีย ในไดโนเสาร์จำพวกคาร์คาโรดอนโตซอเรียน
จากการอธิบายลักษณะทางกายภาคของตัวอย่าง ร่วมกับการวิเคราะห์ความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม สยามแรปเตอร์จัดอยู่ในจำพวกไดโนเสาร์กินเนื้อฟันฉลาม ที่มีความเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อฟันฉลามนี้ ได้มีการกระจายตัวในทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ตั้งแต่ยุคครีเทเชียส ตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 115 ล้านปีก่อน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ เป็นผลจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ที่ได้ตกลงทำบันทึกความร่วมมือ(MOU) ระหว่างประเทศกับพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันสำรวจและขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
โดยปี พ.ศ. 2554 ได้ค้นพบไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์พันธุ์ใหม่ของโลกนาม “ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ” ซึ่งผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร ACTA GEOLOGICA SINICA ต่อมาปี พ.ศ. 2558 ได้ค้นพบไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์พันธุ์ใหม่ของโลกนาม “สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE และล่าสุดในปีนี้ การวิจัยได้ค้นพบไดโนเสาร์กินเนื้อสายพันธุ์ใหม่ของโลก โดย ดร.ดวงสุดา โชคเฉลิมวงศ์ , Dr. Soki Hattori , Dr. Elena Cuesta , ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล , Dr. Masateru Shibata และ Dr. Yoichi Azuma
Recent Comments